การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
แบ่งออกเป็นทั้งหมดคราวๆ 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนการรับสารเคมีนี้ จะเป็นการตรวจสอบว่าสารเคมี ตรงตามที่ห้องปฏิบัติการได้สั่งซื้อหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ยี่ห้อ เกรดของสารเคมี ภาชนะที่บรรจุสารเคมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จำนวนที่สั่งซื้อ
สารเคมีแต่ละชนิดจะมีเอกสารกำกับ เช่น เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) เอกสารรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพของสารเคมี (COA) ให้ดำเนินการตรวจสอบว่า ชื่อ ยี่ห้อ ความเข้มข้นสารเคมีในเอกสารเหล่านี้ตรงตามความต้องการของห้องปฏิบัติการหรือไม่
ขั้นตอนลงทะเบียนสารเคมีนี้ ห้องปฏิบัติการต้องทำแบบฟอร์มขึ้นมาเพื่อลงบันทึกประวัติสารเคมีที่รับเข้ามา ข้อมูลที่ควรบันทึกลงไปควรมี ดังนี้ ชื่อสารเคมี ยี่ห้อ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า CAS No. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน ปริมาณรับเข้า วันที่ลงทะเบียนสารเคมี รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดนั้นๆที่ต้องปฏิบัติตาม การลงทะเบียนสารเคมีจะเป็นการลงทะเบียนในครั้งแรกที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ
ขั้นตอนนี้เป็นการหามาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการใช้สารเคมี การจัดเก็บสารเคมี หรืออันตรายอื่นๆที่จะเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปห้องปฏิบัติการควรมีมาตรการคราวๆ ดังนี้
ขั้นตอนนี้ห้องปฏิบัติการต้องจัดทำแบบฟอร์มในการบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น วันที่เปิดใช้งาน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง วัตถุประสงค์การใช้งาน วันหมดอายุ ลงชื่อผู้ใช้งาน